Monday, June 15, 2009

เหล็กแผ่นรีดร้อน-เหล็กแผ่นรีดเย็น


เหล็กแผ่นรีดร้อน มีผิวสีเท่าดำ อยู่ในรูปม้วนหรือแผ่น สามารถนำไปใช้งานที่ไม่ต้องการคุณภาพผิวสูงนัก
  • พับเป็นเหล็กสำหรับงานโครงสร้าง เช่นเหล็กรูปตัว C (C-Channel)
  • ม้วนทำท่อขนาดเล็ก (Pipe and tube)
  • ม้วนทำท่อขนาดใหญ่ (Spiral pipe)
  • ทำถังแก๊สหุงต้ม
  • ทำตู้คอนเทนเนอร์
  • ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเรือ
  • ใช้ขึ้นรูปชิ้นส่วนช่วงล่างของรถยนต์ที่ต้องการความแข็งแรง
  • ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กแผ่นรีดเย็น
การผลิตเหล็กรีดร้อนในประเทศไทยเริ่มจากการหลอมเศษเหล็กด้วยเตาไฟฟ้า (Electric Arc Furnace - EFA) จะได้น้ำเหล็ก ผสมเคมีตามต้องการ และนำไปทำให้แข็งตัวด้วยขบวนการหล่อแบบต่อเนื่อง (Continuous casting) เพื่อหล่อเป็นเหล็กแผ่นหนา (Slab)
เหล็กแผ่นหนานี้จะถูกตัดด้วยเครื่องตัด (Shearing machine) เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสม ก่อนที่จะผ่านเตาอบ (Slab re-heating furnace) โดยใชัอุณหภูมิในช่วง 1,100-1,250 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นก็มาผ่านการขจัดสนิม (Descaling) ด้วยการพ่นน้ำแรงดันสูงบนผิวเหล็ก จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการรีดลดขนาดที่อุณหภูมิสูง (Hot rolling) โดยอุณหภูมิขณะที่เหล็กผ่านแท่นการรีดสุดท้าย (Finishing temperature-FT) จะสูงกว่า 870 องศาเซลเซียส จากนั้นเหล็กจะถูกทำให้เย็นลงโดยการฝ่านน้ำหล่อเย็น (Cooling table) และเข้าสู่่เครื่องม้วน (Coiler) อุณหภูมิที่ใช้ม้วน (Coiling temperature-CT) อยู่ในช่วง 550-710 องศาเซลเซียส
เหล็กแผ่นรีดร้อนที่ได้จะมีผิวสีเทาดำ หรือเรียกว่า Black coil อาจนำไปผ่านการกัดกรดและเครือบน้ำมัน เรียกว่า Pickled and Oiled (P&O) ซึ่งจะได้เหล็กแผ่นรีดร้อนผิวสีขาวเทา และผิวด้าน

หมายเหตุ บางโรงงานที่ไม่มีเตาไฟฟ้าสำหรับหลอมเศษเหล็ก จะนำเข้า Slab จากต่างประเทศมาเป็นวัตถุดิบ

เหล็กแผ่นรีดเย็น ใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนเป็นวัตถุดิบ ใช้ในงานลักษณะที่ต้องการคุณภาพผิวสูงกว่าและความหนาต่ำกว่าเหล็กแผ่นรีดร้อน
  • งานด้านยานยนต์
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์
  • ทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
  • เป็นโลหะพื้นสำหรับผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ เช่น เคลือบสังกะสีเพื่องานหลังคา เคลือดีบุก

โดยนำม้วนเหล็กแผ่นรีดร้อนไปรีดเย็นต่อ จะได้เหล็กแผ่นที่มีผิวมันกว่า แต่ยังเหลือความเครียดในเนื้อเหล็กอยู่ทำให้มีความแข็งสูง ความสามารถในการยืดตัว (Elogation) ต่ำและยังมีความไม่สม่ำเสมอของคุณสมบัติเชิงกลในทิศทางต่างๆสูง จึงไม่เหมาะแก่การใช้งานขึ้นรูป ต้องทำการอบ (Annealing) เพื่อให้คลายความเครียดในเนื้อเหล็กลง โดยความหนาแทบไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงความเรียบของคุณภาพฟิว และขจัดการยือตัด ณ จุดคลาก (Yield point elogation) ทำให้สามารถไปใช้ขึ้นรูปได้อย่าสม่ำเสมอขึ้น

No comments:

Post a Comment