Monday, June 22, 2009

เหล็กเส้น


ผลิตภัณฑ์เหล็กเส้น คือผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวที่เกิดจากกระบวนการรีดร้อน โดยการนำแท่งเหล็ก (Billet) มาเผาให้ร้อนแล้วรีดลดขนาดให้มีลักษณะเป็นเส้น

ประเภทผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต
1. เหล็กเส้นก่อสร้าง (Reinforced Steel Bar)
2. เหล็กเส้นสำหรับงานตีขึ้นรูปร้อน (Hot forged steel bar)
3. เหล็กเส้นสำหรับงานตกแต่งทางกล (Steel bar for machine structural and general uses)
4. เหล็กเส้นสำหรับงานดึงเย็น (Cold finished steel bar)
5. เหล็กเส้นสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง (Post tensioned steel bar)

เหล็กเส้นก่อสร้าง (Reinforced Steel Bar)
เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการใช้มากที่สุด ใช้สำหรับงานเหล็กเสริมคอนกรีต การผลิตต้องผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม แบบออกเป็น เหล็กเส้นกลม (Round bar), มอก. 20 และ เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar), มอก. 24

เหล็กเส้นสำหรับงานตีขึ้นรูปร้อน (Hot forged steel bar)
เป็นเหล็กเส้นชนิดรีดร้อน มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ สกรู นอตขนาดใหญ่ ประกับรางรถไฟ เป็นต้น
แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ การตีขึ้นรูปอิสระ (Free Forging) และ การตีขึ้นรูปในแบบ (Die Forging) การตีขึ้นรูปแบบที่สองให้รายละเอียดและคุณภาพของงานแข็งกว่าการตีขึ้นรูปด้วยแบบที่หนึ่งมาก หลังจากตีขึ้นรูปแล้วสามารถนำไปอบ และ/หรือ ชุบ เพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นๆ คลายตัวจากความเครียดที่เกิดจากการตีงานขึ้นรูปร้อน

เหล็กเส้นสำหรับงานตกแต่งทางกล (Steel bar for machine structural and general uses)
เป็นเหล็กเส้นรีดร้อนที่ใช้การไส กลึง และการเจาะให้เป็นรูปร่างต่างๆตามต้องการ เช่น เพลาของเครื่องจักร ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ สกรู นอต เป็นต้น
แบ่งตามคุณสมบัติทางกลและ/หรือทางเคมีให้เหมาะกับการใช้งาน หลังจากการขึ้นรูปแล้วสามารถนำไปอบ และ/หรือชุบ เพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นมีคุณสมบัติทางกลเหมาะสมเฉพาะทาง

เหล็กเส้นสำหรับงานดึงเย็น (Cold finished steel bar)
ผลิตโดยการนำเหล็กรีดร้อนมาทำการดึงเย็นเพื่อให้มีรูปร่างที่ละเอียดและแน่นอนกว่ารูปร่างเดิม หรือเปลี่ยนรูปร่างไป และเป็นการเพิ่มคุณสมบัติทางกลให้สูงขึ้น ลดการสูญเสียน้ำหนักของวัตถุ น เหล็ก Cold Drawn Profile ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสลักต่างๆ เป็นต้น

เหล็กเส้นสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง (Post tensioned steel bar)
มีลักษณะเป็นข้ออ้อยเกลียวหรือเหล็กกลมก็ได้ คุณสมบัติทางกลที่สำคัญคือมีแรงดึงสูงกว่าเหล็กก่อสร้างธรรมดาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าตัว

เหล็กลวด ลวดเหล็กกล้า


เหล็กลวด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กรูปทรงยาวที่ผลิตมาจากการรีร้อนเหล็กแท่ง (Billet) โดยทั่วไป เหล็กลวดนำไปผลิตต่อด้วยการดึงเย็น (Cold drawn) เพื่อผลิตเป็นลวดเหล็กกล้า (Steel wire) ที่มีผิวเรียบขึ้น สำหรับนำไปใช้ในงานอุสาหกรราต่อเนื่อง เช่น การผลิตตะปู ตะแกรง นอต สกรู ลวดเชื่อม ลวดเสริมยางรถยนต์ เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ปลายทางของเหล็กลวดแบ่งได้เป็น

  1. เหล็กลวดสำหรับผลิตลวดเหล็ก สำหรับงานทั่วไป เป็นเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ นำไปผ่านกระบวนการดึงเย็นเพื่อลดขนาดจากเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5.5-19 มม. ให้เหลือ 0.1-18 มม. เพื่อผลิตเป็นลวดเหล็กคาร์บอนต่ำ แล้วนำไปชุบสังกะสี เพื่อป้องกันการเกิดสนิม หรืออาจไม่ชุบก็ได้ จากนั้นนำไปผลิตตะปู หรือทำการเชื่อม เพื่อผลิตตะแกรงลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีต ตะแกรง ลวด และลวดหนาม
  2. เหล็กลวดสำหรับผลิตลวดเชื่อม (Welding wire) นำไปดึงเย็นเพื่อผลิตเป็นลวดเหล็กสำหรับผลิตลวดเชื่อม มีสองกลุ่ง คือ Metal Inert Gas (MIG) และ Cover Electrode
  3. เหล็กลวดสำหรับผลิตสลักภัณฑ์ (Fastener) โดนนำไปดึงเย็นแล้วทุบขึ้นรูปเย็น จากนั่นทำการชุบสังกะสีเพื่อป้องกันการเกิดสนิม หรืออาจไม่ชุบก็ได้ ผลิตภัณฑ์ปลายทางได้แก่ แป้นเกลียว (Nut), สกรู (Screw), สลัก (Bolt), หมุดเหล็ก (Rivet), หมุด (Pin), พรุกฝังปูน (Anchor), ตาปูหัวใหญ่ (Stud), ปลอก (Sleeve) ใช้งานมากในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล และโครงสร้างงานเหล็ก
  4. เหล็กลวดสำหรับนำไปผลิตลวดเหล็กคาร์บอนสูงสำหรับงานก่อสร้าง เหล็กลวดคาร์บอนสูง นำไปดึงเย็นเพื่อผลิตเป็นลวดเหล็ก แบ่งได้ สามกลุ่มคือ
    1. ลวดเหล็กกล้าคาร์บอนสำหรับคอนกรีตอัตแรงชนิดเส้นเดี่ยว (Steel wire for pre stressed concrete) ใช้เพื่อเสริมแรงในคอนกรีต เช่นการทำหมอนคอนกรีตรถไฟ
    2. ลวดเหล็กคาร์บอนสูงสำหรับคอนกรีตอัดแรงชนิดตีเกลียว (PDC Strand) นำไปตีเกลียวเพื่อใช้ในงานคอนกรีตอัตแรงขนาดใหญ่
    3. เชือกลวดเหล็กกล้า (Wire rope) นำลวดเหล็กไปตีเกลียวจนกลายเป็นเชือกลวดสำหรับใช้ทำ Cable และงานลวดต่างๆ
  5. เหล็กลวดสำหรับผลิตสปริง สปริงมีอยู่ด้วยกันสามแบบคือ
    1. สปริงที่ให้แรงเมื่อเกิดแรงอัด (Compression spring)
    2. สปริงที่ให้แรงเมื่อเกิดแรงดึง (Tensile spring)
    3. สปริงที่ให้แรงเมื่องเกิดแรงบิด (Tension spring)

โดยสปริงเหล่านี้มักใช้ในงานต่างๆ เช่น สปริงในส่วนประกอบของรถยนต์ เครื่องจักรต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตียงนอน เป็นต้น

  1. เหล็กลวดสำหรับผลิตลวดเหล็กเสริมยางรถยนต์ ได้แก่เหล็กลวดเปียนโนที่ถูกนำไปดึงเย็นหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้ลวดเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางในช่วง 0.15-0.38 มม. แลนำไปผลิตต่อเป็น Bead Wire สำหรับช่วยยึดโครงสร้างของยาง และ Tyre Cord สำหรับเสริมหน้ายางเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรง ใช้ในงานผลิตล้อรถต่างๆ รวมถึงล้อเครื่องบิน ในชั้นคุณภาพที่รองลงมายังนำไปใช้เพื่อเสริมความเข็งแรงให้วัสดุยางอื่น เช่น ท่อยางไฮโดรลิกแรงดันสูง สายพานยางขนาดใหญ่ เป็นต้น

Thursday, June 18, 2009

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ (Structural Steel) เรียกชื่อตามการนำไปใช้งาน หมายถึง เหล็กทรงยาวหน้าตัดต่างๆ ใช้ทำเป็นโครงสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น เสา คาน คอสะพาน เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณมีหลายชนิด โดยทั่วไปเรียกชื่อตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ เช่น H-beam, I-beam เป็นต้น

การแยกความแตกต่างระหว่างเหล็กตัว H และเหล็กตัว I สามารถดูได้จากความแตกต่างของลักษณะปีก (Flange)

I-Beam H-Beam

ลักษณะปีก B:
- H-Beam มีลักษณะมุมตัดเป็นฉาก
- I-Beam มีลักษณะมุมลบเหลี่ยมจากแกนกลางมาที่ปลาย

เหล็กประเภทนี้สามารถต้านทานการตัดโค้ง (Bending) และการบิด (Twisting) ได้ดี จึงใช้เป็น เสา (Columns), คาน (Beams) และตงพื้น (Bridge girders) ในงานก่อสร้างและงานสถาปนิก

แบ่งตามกระบวนการผลิตได้สองประเภทหลัก

1 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel)
มีทั้งเหล็กรูปพรรณรีดร้อนขนาดใหญ่ มีความกว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มม. และ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนขนาดเล็ก มีความกว้างน้อยกว่า 200 มม.
เกิดจาการหลอมและหล่อขึ้นรูปเป็นเหล็กแท่งในขั้นต้น แล้วจึงให้ความร้อนเพื่อทำการรีด เพื่อลดขนาดและขึ้นรูปอีกครั้ง ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้แก่ เหล็กตัว H , และเหล็กตัว I เป็นต้น


2 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดเย็น (Cold formed structural steel)
เกิดจากการพับขึ้นรูปเหล็กกล้าแผ่นในขณะที่อยู่ในอุณหภูมิปรกติ โดยใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนหรือเหล็กแผ่นชุบสังกะสีเป็นวัตถุดิบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน มีความต้องการความต้านทานการกัดกร่อน (Corrosion resistant) มากหรือน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นโครงสร้างเสา คาน และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้แก่ เหล็กตัว C เป็นต้น

ท่อเหล็กกล้า


ท่อเหล็กกล้า

ท่อเหล็กกล้าถูกใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย เช่น ท่อประปา ท่อในอุตสาหกรรมเคมี ท่อที่ใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ท่อร้อยสายไฟ(Conduit pipe) ท่อสำหรับเจาะและขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ท่อเข็มพืด(Pipe pile) ท่อสำหรับงานก่อสร้าง เช่น Bridge, Columns โดยมีวิธีการผลิตต่างกัน

ท่อเหล็กแบ่งได้ 2 กลุ่มหลัก
1. ท่อที่ได้จากการม้วนและเชื่อมเหล็กแผ่น (Welded pipe)
2. ท่อที่ไม่ผ่านการเชื่อม (Seamless pipe) ได้จากการแปรรูปร้อนเหล็กแท่ง เช่น Round billet

การผลิตท่อเหล็กกล้า 4 วิธี

1. ท่อที่ผลิตโดยการเชื่อมเหล็กแผ่นโดยอาศัยความต้านทานไฟฟ้า (Electric Resistance Welding – ERW)

ใช้ในการผลิตท่อที่มีขนาดความหนาไม่มากนัก ส่วนใหญ่หนาไม่เกิน 8 มม. และเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก ½ - 8 นิ้ว รอยเชื่อมของท่อจะได้แนวเชื่อมตรงตามความยาวท่อ

เริ่มจากการคลี่เหล็กแผ่นม้วน (Uncoiling) แล้วตัดแบ่ง (Slitting) ให้ได้ความกว้างของเหล็กแผ่นใกล้เคียงกับความยาวของเส้นรอบวงที่ต้องการม้วนท่อ ค่อยๆม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกโดยผ่านลูกรีดหลายแท่นที่อุณหภูมิห้อง แล้วจึงทำการเชื่อมบริเวณขอบของเหล็กแผ่นโดยใช้การเชื่อมแบบความถึ่สูง ทำให้เกิดความร้อน แล้วจึงอัดให้ติดกัน จะมีเนื้อโลหะส่วนหนึ่งนูนออกมา (Flash) และจะถูกปาด (Bead Trimming) ออกจากผิว จากนั้นนำที่ที่ได้ไปผ่านกระบวนการทางความร้อน (Post weld treatment) เพื่อลดความเค้นจากการเชื่อมและทำให้ได้โครงสร้างจุลภาพภายในเนื้อเหล็กที่สม่ำเสมอทั้งบริเวณโลหะพื้นและบริเวณรอยเชื่อม จึงทำการรีดที่ Sizing mill เพื่อปรับขนาดอีกเล็กน้อย ทำให้ท่อตรงขึ้น แล้วตัดตามความยาวที่ต้องการ

การใช้งานท่อ ERW เช่น ท่อน้ำ ท่อเหล็กโครงสร้าง ท่อขนส่งก๊าซและน้ำมัน ท่อเข็มพืด (Piling pipe) มาตรฐานของท่อ ERW เช่น ASTM A 53 Grade A&B, A-135, A-252 Grade 1,2,3,
API5L Grade A&B และ API5LX42 ถึง X65

2. ท่อเชื่อแนวตะเข็บตรงแบบ Arc Welding เช่น Double Submerged Arc Weld (DSAW) Pipe

มาจากการเชื่อมด้วยวิธี Arc โดยมี Flux ปกคลุมขณะทำการเชื่อม การเชื่อมจะกระทำทั้งด้านในและด้านนอกด้วยขบวนการที่แยกกัน จึงเรียก Double การเชื่อมที่แยกกันนี้จะทำให้เกิดการผสมของเนื้อรอยเชื่องของกันและกัน ทำให้ได้รอยเชื่อมที่มีคุณภาพสูง ท่อแบบ DSAWนี้มักมีเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกใหญ่และผนังหนากว่าเมื่อเทียบกับท่อแบบ ERW

ขบวนการผลิตท่อ DSAW มี 2 วิธี คือ วิธี Pyramid rolls (Bend rolled) และวิธี U-0 ความแตกต่างอยู่ที่กรรมวิธีม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอก

วิธี Pyramid rolls ทรงกระบอกจะถูกสร้างขึ้นจากการม้วนเหล็กแผ่นระหว่าง 3 ลูกรีดที่เรียตัวกันแบบ Pyramid

วิธี U-0 ใช้การกดให้เหล็กแผ่นเป็นรูปตัว U จากนั้นจึงกดต่อให้เป็นรูปตัว O แล้วจึงทำการเชื่อม

สิ่งที่เหมือนกันในสองวิธีนี้คือ ขั้นตอนการตกแต่ง (Finishing) และขั้นตอนการตรวจสอบ (Inspection) และใช้แผ่นหนา (Flat sheet plate) เป็นวัตถุดิบ

การใช้งานที่อ DSAW เช่น งานขนส่งน้ำมันและก๊าซความดันสูง (Line pipe) ในปริมาณมากและระยะทางไกล (ทั้ง Onshore และ Offshore) Structural และท่อเข็มพืด

มาตรฐานของท่อ DSAW เช่น ASTM A134, A139, A252, A671, A672, A690, A691 และ API 2B, 5LB, 5LX42 ถึง 5lx80 เป็นต้น

3. ท่อแบบเชื่อม Spiral

คือท่อเหล็กกล้าที่เชื่อมโดยวิธี Submerged Arc Welding (SAW) โดยแนวเชื่อมจะมีลักษณะขดเป็นวงคล้ายสปริง กรรมวิธีนี้สามารถผลิตท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ความกว้างและความยาวมากๆ อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 150-3,300 มม. ความหนาที่ใช้กันส่วนใหญ่ประมาณ 3-19 มม.

ท่อ Spiral แบบสองด้าน สามารถทนความดันได้มากกว่าท่อเชื่อมแบบแนวเชื่อมตรงถึง 25% เมื่อเทียบที่ความหนาของผนังเท่ากัน

การใช้งานท่อประเภทนี้ เช่น ท่อสำหรับส่งน้ำดิบงานขุดเจาะ (Dredging) ท่อเข็มพือ

มาตรฐานสำหรับท่อประเภทนี้ เช่น ASTM A139, A211, A252

4. ท่อไร้ตะเข็บ (Seamless pipe)

เป็นท่อที่มีเส้นรอบวงที่มีคุณสมบัติสม่ำเสมออย่างมาก จึงมีความต้านทานต่อแรงดันภายในและการบิดตัว (Torsion) ได้สูง โดยทั่วไปใช้ในอุตสาหกรรมเคมี งานเจาะและสูบ (Drilling and pumping) น้ำมัน ก๊าซ และงานหม้อต้มน้ำ (Boiler)

การผลิตเริ่มจากการให้ความร้อนเหล็กแท่ง Steel Billet ส่วนใหญ่ใช้แบบหน้าตัดกลม ที่อุณหภูมิ 1,230°C Billet ที่ร้อนแดงจะถูกหมุนและดึงด้วยลูกรีดไปรอบๆแท่งเจาะ (Piercing rod) ลูกรีดจะทำให้เนื้อโลหะไหลผ่านแท่งเจาะทำให้เกิดเปลือกท่อกลาวง (Hollow pipe shell) จากนั้นให้ความร้อนอีกครั้งแล้วรีดร้อนเปลือกท่อกลวงนี้โดยมี support bar อยู่ด้านในเพื่อปรับให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความหนาที่ต้องการ

Monday, June 15, 2009

เหล็กแผ่นเคลือบโลหะ

เหล็กแผ่นเคลือบ มักผลิตโดยใช้โลหะพื้นที่เป็นเหล็กแผ่นรีดเย็น

จุดประสงค์หลัก: เพื่อให้วัสดุมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดี อาจเคลือบสีทับอีกชั้นหนึ่ง (Prepainted) เพื่อความสวยงาน และเพิ่มความต้านทานการต่อการกัดกร่อนที่สูงยิ่งขึ้น

เหล็กแผ่นเคลือบโลหะผสมสังกะสี สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท
  1. เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีการจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized - HDG)
  2. เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีการจุ่มร้อนและอบ (Galvaneal หรือ Iron-Zinc coating - IZ)
  3. เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีอลูมิเนียม Galvalume (Zincalume)
  4. เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีทางไฟฟ้า (Electro galvanized steel)
1) เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีการจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized - HDG)
โดยการนำเหล็กกล้าชนิดแผ่นจุ่มลงในอ่างสังกะสีหลอมเหลว ผลิตภัณฑ์ที่ได้ สามารถป้องกันการเกิดสนิมได้ดีและมีคุณสมบัติการทาสีติด (Paintability)ความสามารถในการเชื่อมและการบัดกรีที่ดี แต่เนื่องจากจุดหลอมเหลวของชั้นสังกะสีมีอุณหภูมิต่ำกว่าชั้นเหล็กกล้า ดังนั้น ความสามารถในการเชื่อมแบบต่อเนื่องจึงลดลง โดยเป็นผบมาจากสังกะสีที่ติดกับแท่งอิเลคโทรดในขณะทำการเชื่อม

ข้อจำกัดในการใช้งานคือไม่ควรใช้งานภายใต้สภาวะที่มีการกัดกร่อนที่รุนแรง เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลเขตอุตสาหกรรม ตัวอย่างการใช้งาน เช่น กรอบประตู พื้นสำเร็จรูป ผนังภายใน และภายนอกอาคาร อุปกรณ์ระบายความร้อน ท่อระบายอากาศ

2) เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีการจุ่มร้อนและอบ (Galvanneal Iron-Zinc coating, IZ)
เป็นเหล็กกล้าที่ผ่านกระบวนการเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเช่นเดียวกับ HDG ต่างกันที่ภายหลังจากการเคลือบผิวด้วยสังกะสีเหล็กกล้าชนิดแผ่นจะถูกส่งผ่านไปยังเตาอบ เพื่อเร่งให้เกิดชั้นของสารประกอบ Zn-Fe ผิดชั้นเคลือบที่ได้จะมีลักษณะสีเทาด้าน (Matt gray) สม่ำเสมอ และไม่มีลวดลายแพรวพราว
ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบด้วยวิธีนี้จะมีความสามารถในการทาสีติดและความสามารถในการเชื่อมแบบ Spot และ seam เหนือกว่าเหล็กกล้าเคลือบด้วยวิธี HDG เนื่องจากชั้นเคลือบสังกะสีของ HDG มีความสามารถนำๆฟฟ้าต่ำกว่าขั้นของแผ่นเหล็ก อีกทั้งจุดหลอมเหลวก็ยังต่ำกว่าแผ่นเหล็กด้วย
ส่วนชั้นเคลือบ Zn-Fe ของเหล็ก Galvanneal มีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่าและมีความแข็งแรงมากกว่าเมื่อเทียบกับ HDG ดังนี้นความสามารถในการเชื่อมจึงเทียบเท่าได้กับแผ่นเหล็กซึ่งเป็นโลหะพื้น
เหล็กกล้าเคลือบแบบ IZ นี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะชิ้นส่วนตัวถังภายนอกที่ต้องการคุณสมบัติของการทาสี และการเชื่อมที่ดีรวมถึงใช้การผลิตถังน้ำมั้นรถยนต์ เป็นต้น

3) เหล็กกล้าชนิดแผ่นเคลือบสังกะสีอลูมิเนียม Galvalume (Zincalume)
เป็นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเหมือนกับ HDG แต่ต่างกันที่ส่วนผสมภายในอ่างชุบ โดยวิธีนี้จะใช้อลูมิเนียม 55% ซิลิคอน 1.6% และที่เหลือเป็นสังกะสี โดยอลูมิเนียมจะช่วยเพิ่มความทนทานต่อการใช้งาน (Durability) และเพิ่มความต้านทานต่อระดับความร้อนที่อุณหภูมิสูง (High temperature resistant)
การใช้งานของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ เช่นงานที่ต้องการคุณสมบัติทนความร้อน สะท้อนแสงและความร้อนได้ดี การใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่น หลังคา ฝาผนัง ท่อรางน้ำ เหล็กโครงสร้าง รั้ว ป้าย โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนรุ่นแรง โดยมีระยะดวลาการใช้งานนานกว่าผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแบบ HDG และ Galfan ถึง 2-4 เท่า โดยขึ้นกับสภาวะการใช้งาน
นอกจากนี้ยังมีการใช้งานอื่นๆ เช่น ท่อไอเสีย ชิ้นส่วนภายในเครื่องซักผ้า เตาปิ้งขนมปัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อจำกัด ประการสำคัญ คือ ความสามารถในการเชื่อมที่อยู่ในระดับต่ำ โดยไม่สามารถทำการเชื่อมที่ระดับกระแสไฟฟ้าสูงได้

4) เหล็กกล้าขนิดแผ่นเคลือบสังกะสีโดยวิธีทางไฟฟ้า (Electro Galvanized steel)
กระบวนกรนี้เป็นการเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีทางไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้องภายในอ่างชุบโดยมีส่วนประกอบ คือ ขั้นบวก ขั้วลบ และสารละลายอิเลคโทรไลท์ ซึ่งได้แก่ สารละลายสังกะสีชัลเฟต (Zinc Sulfate) โดยสังกะสีจะเคลือบลงบนแผ่นเหล็กในลักษณะเป็นอิออน ซึ่งจะต่างไปจากวิธีจุ่มร้อนที่เป็นสารละลายของเหลวติดบนแผ่นเหล็ก ดังนั้นประสิทธิภาพในการเคลือบด้วยวิธีทางไฟฟ้าจึงสูงกว่า จากนั้นจะนำไปเคลือบด้วยฟอสเฟต (Phosphate treatment) หรือ โครเมต (Chromate treatment) ซึ่งการเคลือบฟอสเฟตจะช่วยให้ความสามารถในการทาสีติดดียิ่งขึ้น ส่วนโครเมตช่วยเพิ่มความสามารถต้านทานการกัดกร่อนและป้องกันคราบต่างๆ ได้
ข้อดีของการเคลือบประเภทนี้ คือการเคลือบทำที่อุณหภูมิ ดังนี้นความสามารถในการขี้นรูปจะขึ้นกับคุณสมบัติของเหล็กกล้าชนิดแผ่นเป็นหลักโดยไม่มีผลของความร้อนเหมือนการผลิตแบบจุ่มร้อนที่เหล็กแผ่นจะไดรับความร้อนในขณะเคลือบและถูกทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์เคลือบสังกะสีด้วยวิธีการทางๆฟฟ้ามีความสามารถในการขี้นรูป การทาสีติด และการเชื่อมที่ดีเยี่ยม การใช้งาน เช่น ตัวถังและชิ้นส่วน ภายนอกรถยนต์ ฝาครอบของมอเตอร์ ฝาครอบคอมพิวเตอร์ (Computer casing)เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เป็นต้น

เหล็กแผ่นรีดร้อน-เหล็กแผ่นรีดเย็น


เหล็กแผ่นรีดร้อน มีผิวสีเท่าดำ อยู่ในรูปม้วนหรือแผ่น สามารถนำไปใช้งานที่ไม่ต้องการคุณภาพผิวสูงนัก
  • พับเป็นเหล็กสำหรับงานโครงสร้าง เช่นเหล็กรูปตัว C (C-Channel)
  • ม้วนทำท่อขนาดเล็ก (Pipe and tube)
  • ม้วนทำท่อขนาดใหญ่ (Spiral pipe)
  • ทำถังแก๊สหุงต้ม
  • ทำตู้คอนเทนเนอร์
  • ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเรือ
  • ใช้ขึ้นรูปชิ้นส่วนช่วงล่างของรถยนต์ที่ต้องการความแข็งแรง
  • ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กแผ่นรีดเย็น
การผลิตเหล็กรีดร้อนในประเทศไทยเริ่มจากการหลอมเศษเหล็กด้วยเตาไฟฟ้า (Electric Arc Furnace - EFA) จะได้น้ำเหล็ก ผสมเคมีตามต้องการ และนำไปทำให้แข็งตัวด้วยขบวนการหล่อแบบต่อเนื่อง (Continuous casting) เพื่อหล่อเป็นเหล็กแผ่นหนา (Slab)
เหล็กแผ่นหนานี้จะถูกตัดด้วยเครื่องตัด (Shearing machine) เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสม ก่อนที่จะผ่านเตาอบ (Slab re-heating furnace) โดยใชัอุณหภูมิในช่วง 1,100-1,250 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นก็มาผ่านการขจัดสนิม (Descaling) ด้วยการพ่นน้ำแรงดันสูงบนผิวเหล็ก จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการรีดลดขนาดที่อุณหภูมิสูง (Hot rolling) โดยอุณหภูมิขณะที่เหล็กผ่านแท่นการรีดสุดท้าย (Finishing temperature-FT) จะสูงกว่า 870 องศาเซลเซียส จากนั้นเหล็กจะถูกทำให้เย็นลงโดยการฝ่านน้ำหล่อเย็น (Cooling table) และเข้าสู่่เครื่องม้วน (Coiler) อุณหภูมิที่ใช้ม้วน (Coiling temperature-CT) อยู่ในช่วง 550-710 องศาเซลเซียส
เหล็กแผ่นรีดร้อนที่ได้จะมีผิวสีเทาดำ หรือเรียกว่า Black coil อาจนำไปผ่านการกัดกรดและเครือบน้ำมัน เรียกว่า Pickled and Oiled (P&O) ซึ่งจะได้เหล็กแผ่นรีดร้อนผิวสีขาวเทา และผิวด้าน

หมายเหตุ บางโรงงานที่ไม่มีเตาไฟฟ้าสำหรับหลอมเศษเหล็ก จะนำเข้า Slab จากต่างประเทศมาเป็นวัตถุดิบ

เหล็กแผ่นรีดเย็น ใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนเป็นวัตถุดิบ ใช้ในงานลักษณะที่ต้องการคุณภาพผิวสูงกว่าและความหนาต่ำกว่าเหล็กแผ่นรีดร้อน
  • งานด้านยานยนต์
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์
  • ทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
  • เป็นโลหะพื้นสำหรับผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ เช่น เคลือบสังกะสีเพื่องานหลังคา เคลือดีบุก

โดยนำม้วนเหล็กแผ่นรีดร้อนไปรีดเย็นต่อ จะได้เหล็กแผ่นที่มีผิวมันกว่า แต่ยังเหลือความเครียดในเนื้อเหล็กอยู่ทำให้มีความแข็งสูง ความสามารถในการยืดตัว (Elogation) ต่ำและยังมีความไม่สม่ำเสมอของคุณสมบัติเชิงกลในทิศทางต่างๆสูง จึงไม่เหมาะแก่การใช้งานขึ้นรูป ต้องทำการอบ (Annealing) เพื่อให้คลายความเครียดในเนื้อเหล็กลง โดยความหนาแทบไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงความเรียบของคุณภาพฟิว และขจัดการยือตัด ณ จุดคลาก (Yield point elogation) ทำให้สามารถไปใช้ขึ้นรูปได้อย่าสม่ำเสมอขึ้น